วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554
ฅนข่าวเท้าติดดิน: สารบัญ
สารบัญ
ปริญญานิพนธ์ โครงการจัดทำหนังสือพกพา เรื่อง “ฅนข่าวเท้าติดดิน”
ก. เอกสารอนุมัติปริญญานิพนธ์
ข. บทคัดย่อ
ค. กิตติกรรมประกาศ
ง. คำนำหนังสือ
-----------------------------
บทที่ ๐๑ บทนำ
บทที่ ๐๒ ขั้นตอนการทำงาน
บทที่ ๐๓ เบื้องหลังการทำงาน
ก. เอกสารอนุมัติปริญญานิพนธ์
ข. บทคัดย่อ
ค. กิตติกรรมประกาศ
ง. คำนำหนังสือ
-----------------------------
บทที่ ๐๑ บทนำ
บทที่ ๐๒ ขั้นตอนการทำงาน
บทที่ ๐๓ เบื้องหลังการทำงาน
หนังสือพกพา เรื่อง “ฅนข่าวเท้าติดดิน”
บทที่ ๐๑ เมื่อพลเมืองลุกขึ้นทำข่าว
บทที่ ๐๒ ก่อนจะมีสื่อพลเมือง
บทที่ ๐๓ สำนักงานสื่อพลเมือง “นานาชาติและเคลื่อนที่”
บทที่ ๐๔ สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ
บทที่ ๐๕ สื่อพลเมืองรอบโลก
บทที่ ๐๖ ประชาไท: ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ใจถึง พึ่งได้!!
บทที่ ๐๗ ประชาธรรม: สื่อภาคเอ็นจีโอขนานแท้ดั้งเดิม
บทที่ ๐๘ ไทยอีนิวส์: อาสาสมัครสื่อทางเลือก จุดยืนประชาธิปไตย
บทที่ ๐๙ โอเคเนชั่น: ‘ทุกคน’ เป็นนักข่าว (เนชั่น) ได้?
บทที่ ๑๐ สื่อพลเมืองปัจเจก: ต้นทางวารสารศาสตร์พลเมือง
บทที่ ๑๑ รวมมิตรสื่อพลเมืองสัญชาติไทย
บทที่ ๑๒ นานาทรรศนะ ว่าด้วยวารสารศาสตร์พลเมือง
บทที่ ๑๓ ‘ภายภาคหน้า’ ของวารสารศาสตร์พลเมือง
โดย: ภัทรพล สุธาวุฒิไกร
ฅนข่าวเท้าติดดิน: เอกสารอนุมัติปริญญานิพนธ์
ปริญญานิพนธ์: โครงการจัดทำหนังสือพกพา เรื่อง “ฅนข่าวเท้าติดดิน”
โดย: นายภัทรพล สุธาวุฒิไกร
รหัสนักศึกษา: ๔๘๒๒๐๓
สาขาวิชา: วารสารศาสตร์
อาจารย์ที่ปรึกษา: นายสมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ
โดย: นายภัทรพล สุธาวุฒิไกร
รหัสนักศึกษา: ๔๘๒๒๐๓
สาขาวิชา: วารสารศาสตร์
อาจารย์ที่ปรึกษา: นายสมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ
คณะกรรมการประเมินผลปริญญานิพนธ์ ได้พิจารณาอนุมัติแล้ว มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้ ได้มาตรฐานทางวิชาการ ตามที่คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตกำหนดไว้
จึงลงนามไว้เป็นสำคัญ
๐๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒
คณะกรรมการประเมินผลปริญญานิพนธ์
(อาจารย์บุปผา บุญสมสุข)
ประธานกรรมการ
(อาจารย์นิพนธ์ เจริญพจน์)
กรรมการ
กรรมการ
(อาจารย์สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ)
กรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษา
(อาจารย์อนุสรณ์ ศรีแก้ว)
คณบดีคณะนิเทศศาสตร์
คณบดีคณะนิเทศศาสตร์
จาก: ปริญญานิพนธ์ โครงการจัดทำหนังสือพกพา เรื่อง “ฅนข่าวเท้าติดดิน”
โดย: นายภัทรพล สุธาวุฒิไกร
ฅนข่าวเท้าติดดิน: บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
โครงการจัดทำหนังสือพกพา เรื่อง “ฅนข่าวเท้าติดดิน”
นายภัทรพล สุธาวุฒิไกร
สาขาวิชาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (๒๕๕๑)
อาจารย์ที่ปรึกษา : นายสมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ
หนังสือพกพา เรื่อง “ฅนข่าวเท้าติดดิน” เป็นหนังสือในขนาดกระดาษ เอ ๕ (กว้าง ๕.๕ นิ้ว ยาว ๘ นิ้ว) จำนวน ๑๔๔ หน้า ไม่รวมปก ราคาจำหน่ายเล่มละ ๑๐๘ บาท
เนื้อหาสาระที่สำคัญโดยสรุปของหนังสือพกพาเล่มนี้ เป็นการอธิบายถึง “วารสารศาสตร์พลเมือง” ซึ่งเป็นกระบวนการสื่อสารสู่สาธารณชนในรูปแบบใหม่ ที่ประชาชนทั่วไปเป็นผู้ผลิต และเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ ไปยังสาธารณชนโดยตรง ไม่จำเป็นต้องผ่านสื่อมวลชนอีกต่อไป โดยมีอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญของกระบวนการใหม่นี้ เช่น การใช้เว็บล็อก การใช้เว็บบอร์ด การเผยแพร่ภาพและคลิปวิดีโอ เพื่อนำเสนอเรื่องราวสำคัญต่างๆ ที่บุคคลนั้นได้พบเจอด้วยตนเอง ออกไปให้ประชาชนทั่วไปรับรู้ได้ในวงกว้าง ซึ่งประเด็นดังกล่าว นับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ จึงยังไม่มีการนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้อย่างละเอียด จึงเกิดแนวคิดในการผลิตหนังสือพกพาที่ว่าด้วยเรื่องนี้ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจ
หนังสือพกพาเล่มนี้ ใช้เวลาในการผลิต ระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นระยะเวลา ๔ เดือน โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติประกอบด้วย การค้นคว้าจากหนังสือ อินเทอร์เน็ต หรือแหล่งข้อมูลอื่น และการสัมภาษณ์ด้วยการสอบถามโดยตรง กับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง หรือเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งรวมเรียกว่า การรวบรวมข้อมูล แล้วจึงเริ่มต้นเขียนเนื้อหาของหนังสือ พร้อมทั้งออกแบบปก จากนั้นจึงนำเสนอเนื้อหาที่เขียนแล้วกับอาจารย์ที่ปรึกษาฯ เพื่อให้เสนอแนะ และแก้ไขปรับปรุงให้สมบูรณ์
จาก: ปริญญานิพนธ์ โครงการจัดทำหนังสือพกพา เรื่อง “ฅนข่าวเท้าติดดิน”
โดย: นายภัทรพล สุธาวุฒิไกร
ฅนข่าวเท้าติดดิน: กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
จาก: ฅนข่าวเท้าติดดิน
โดย: ภัทรพล สุธาวุฒิไกรผมมีความฝันอยู่สิ่งหนึ่งว่า ในชีวิตหนึ่งที่เกิดมานี้ อยากทำหนังสือพกพา (พ็อกเก็ตบุ๊ก) สักเล่มหนึ่ง และเมื่อการผลิตปริญญานิพนธ์ สามารถช่วยให้ผมทำตามความฝันนั้นของตัวเองได้ ผมก็ไม่รอช้าที่จะไขว่คว้าไว้ เป็นความภูมิใจส่วนตัวครั้งหนึ่งในชีวิตครับ
อาจารย์สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ ที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นบุคคลสำคัญท่านแรก ที่ผมขอขอบคุณอย่างสูงครับ ที่ให้ความกรุณากับผม ตลอดระยะเวลาที่ผมได้เรียนกับอาจารย์ ผมประทับใจในศิลปะการสอน การตักเตือน หรือแม้แต่การตำหนิของอาจารย์ ที่ไม่เคยทำให้ผมรู้สึกไม่ดีเลยแม้แต่ครั้งเดียวครับ :)
ขอขอบคุณ อาจารย์นิพนธ์ เจริญพจน์ และ อาจารย์นวนิต ประถมบูรณ์ ที่คอยสอนผมอย่างเต็มที่ ทั้งสอบถามความเป็นไปในการเรียนของผมมาตลอด, อาจารย์บุปผา บุญสมสุข อาจารย์ฐิติ วิทยสรณะ ที่ให้ความรู้ใหม่ๆ รวมถึงข้อคิดดีๆ กับผมเสมอมา, อาจารย์และเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลห้องปฏิบัติการวารสารศาสตร์ ที่ไม่เคยปฏิเสธเวลาต้องการความช่วยเหลือ, เลขานุการประจำคณะ ที่คอยบอก ชี้แนะ และให้ความกระจ่างกับผม ในเรื่องข้างเคียงของการเรียนทั้งหลายครับ
ขอบคุณ น้องรุ่นเพื่อน ครอบครัวข่าวเจอาร์ รุ่น ๑๕ ทุกผู้คน ที่ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของช่วงชีวิตพี่
ขอขอบคุณ ญาติๆ ที่เข้าใจ และคอยให้กำลังใจผม ทุกครั้งที่พบกัน, ขอบคุณน้องสาว ที่เป็นแรงผลักดันสำคัญ ด้วยการมุ่งมั่นตั้งใจ เป็นแบบอย่างให้มองเห็น, ขอบคุณพี่ชาย ที่คอยให้คำปรึกษา ในฐานะผู้มีประสบการณ์ จากสถาบันเดียวกัน
ขอกราบขอบพระคุณ คุณพ่อ ที่ให้ชีวิตแก่ผม คอยกระตุ้นเตือนให้ผมตั้งใจเรียน ทั้งให้กำลังใจ ด้วยการให้รางวัลบ้าง พาไปเที่ยวนอกบ้านบ้าง ตามแต่โอกาส และ ขอกราบขอบพระคุณ คุณแม่ ที่ให้กำเนิดผม แต่กลับต้องผิดหวัง กลุ้มใจ เสียใจ กับบางอย่างที่ผมทำ
หวังว่าของขวัญชิ้นนี้ คงช่วยให้ทุกคนในครอบครัวของผม มีความสุขได้บ้าง ไม่มากก็น้อยนะครับ
ผมทำสำเร็จแล้วครับ!!
ภัทรพล สุธาวุฒิไกร
๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒
ภัทรพล สุธาวุฒิไกร
๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒
ฅนข่าวเท้าติดดิน: คำนำ
คำนำ
จาก: ฅนข่าวเท้าติดดิน
โดย: ภัทรพล สุธาวุฒิไกร
ทุกวันนี้ กระบวนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่สาธารณชน ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า วารสารศาสตร์ (Journalism) มีวิวัฒนาการจากยุคเริ่มต้นไปอย่างมากมาย เกินกว่าที่ผู้คนในสมัยนั้นจะคาดถึง พัฒนาการของตัวสื่อเอง แตกกิ่งก้านสาขาออกไปหลายรูปแบบ เช่น จากหนังสือพิมพ์สู่นิตยสาร, จากนิตยสารสู่วิทยุ, จากวิทยุสู่โทรทัศน์ และ จากคลื่นวิทยุในอากาศสู่สัญญาณดาวเทียม
โดยเฉพาะ การกำเนิดของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งนับเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในวงการวารสารศาสตร์ของโลก เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญ หรือที่ผู้สื่อข่าวอาชีพ ไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุได้ การบอกเล่าและเผยแพร่ภาพเหตุการณ์เหล่านั้น จากผู้อยู่ในเหตุการณ์ กลายเป็นกระบวนการวารสารศาสตร์ใหม่ไปโดยปริยาย ดังที่ต่อมาเรียกว่า วารสารศาสตร์พลเมือง (Citizen Journalism)
หนังสือพกพาเล่มนี้ อธิบายถึงวารสารศาสตร์พลเมือง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ใหม่ ที่ยังไม่มีการนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้อย่างละเอียด ผู้เขียนมีแนวคิด และความตั้งใจ ที่จะอธิบายเรื่องนี้อย่างถูกต้อง ละเอียด และครบถ้วน เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลแก่ผู้สนใจ โดยเลือกรูปแบบหนังสือขนาดพกพา เพื่อเข้าถึงพลเมืองได้ทุกระดับ เพศ และวัย ทั้งยังสามารถลงรายละเอียด ในเนื้อหาแต่ละเรื่องย่อย ได้อย่างชัดเจนครบถ้วน
หากจะมี ความดีความชอบประการใด อันเป็นผลจากการจัดทำ หนังสือพกพาเล่มนี้ ผู้เขียนขอมอบให้บิดาและมารดา ผู้ให้กำเนิด ให้ชีวิต และให้ทุกสิ่ง ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวของผู้เขียนในทุกวันนี้
ภัทรพล สุธาวุฒิไกร
๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒
ฅนข่าวเท้าติดดิน: บทนำ
บทที่ ๑
บทนำ
บทนำ
จาก: ปริญญานิพนธ์ โครงการจัดทำหนังสือพกพา เรื่อง “ฅนข่าวเท้าติดดิน”
โดย: นายภัทรพล สุธาวุฒิไกรหลักการและเหตุผล
กระบวนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสู่สาธารณชน ที่เรียกขานทั่วไปว่า วารสารศาสตร์ (Journalism) มีวิวัฒนาการจากยุคเริ่มต้นไปอย่างมากมาย เกินกว่าที่ผู้คนในสมัยนั้นจะคาดถึง ซึ่งมักจะเป็นพัฒนาการในการใช้สื่อ เช่น จากหนังสือพิมพ์ สู่นิตยสาร, จากนิตยสาร สู่วิทยุกระจายเสียง, จากวิทยุกระจายเสียง สู่วิทยุโทรทัศน์ และ จากคลื่นวิทยุในอากาศ สู่สัญญาณดาวเทียม เป็นต้น
นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นต้นมา การใช้อินเทอร์เน็ต (Internet) ในกระบวนการส่งข่าวสารไปถึงประชาชน เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายในไทย แม้จะมีผู้เข้าถึงได้น้อยในระยะแรก แต่นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ของกระบวนการวารสารศาสตร์ในประเทศ ส่งผลให้ หนังสือพิมพ์ สำนักข่าว และฝ่ายข่าวโทรทัศน์ ต่างก็ปรับปรุงตัวเองให้ทันแก่ยุคสมัย ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่แต่ละแห่งผลิตได้ บนหน้าเว็บไซต์ของตน ตลอดจนการเผยแพร่ภาพและเสียงที่ออกอากาศในช่องทางปกติบนอินเทอร์เน็ตด้วย จนกระทั่งกลายเป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างสูงสุด ก่อนจะเข้าสู่สหัสวรรษใหม่เสียอีก
ต่อมาไม่นาน อินเทอร์เน็ตก็กลายเป็นเครื่องมือหลัก ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในวงการวารสารศาสตร์ของโลกอีกครั้ง เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเร่งด่วนร้ายแรง หรือที่ผู้สื่อข่าวอาชีพ ไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุได้ การบอกเล่าและเผยแพร่ภาพเหตุการณ์เหล่านั้น จากผู้อยู่ในเหตุการณ์ ผ่านช่องทางต่างๆ ที่คนเหล่านั้นสามารถเข้าถึงได้ กลายเป็นกระบวนการใหม่ทางวารสารศาสตร์ ไปอย่างรวดเร็วโดยปริยาย
วารสารศาสตร์พลเมือง (Citizen Journalism) เป็นคำจำกัดความที่เกิดขึ้น หลังจากที่เกิดกระบวนการดังกล่าวนั้นแล้ว ซึ่งต่อมา กระบวนการลักษณะนี้ มีวิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว ทั้งลักษณะดั้งเดิม ที่แยกตัวเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับใคร หรือการเผยแพร่ร่วมกันในรูปขององค์กร และการตั้งเป็นองค์กรขึ้นก่อน เพื่อให้สมาชิกรวมตัวกัน ภายใต้วัตถุประสงค์ขององค์กรในภายหลัง ตลอดจนการใช้ภาษาข่าว ในการเขียนเนื้อหา หรือนำคลิปวิดีโอมาประกอบแทนภาพนิ่ง เพื่อเพิ่มความกระจ่างชัดแก่ข่าวเหล่านั้นยิ่งขึ้น
ข่าวสารต่างๆ อันเกิดขึ้นจากกระบวนการของวารสารศาสตร์พลเมือง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคม อย่างชัดเจนและรุนแรง โดยเฉพาะกับเหตุการณ์ที่เป็นปริศนา มีความคลุมเครือ มีข้อเท็จจริงหลายประเด็น ที่ขัดแย้งกันเอง โดยข้อมูลจากผู้สื่อข่าวพลเมือง ซึ่งนับเป็นประจักษ์พยาน ที่ผลิตปากคำของตน เป็นหลักฐานเอกสาร อาจช่วยให้ความจริงปรากฏขึ้นได้
การนำเสนอโดยใช้รูปแบบหนังสือพกพา (Pocket Book) เนื่องจากสามารถเข้าถึงพลเมืองได้ทุกระดับ เพศ และวัย ทั้งยังสามารถลงรายละเอียด ในเนื้อหาแต่ละเรื่องย่อย ได้อย่างชัดเจนครบถ้วน เพื่อเป็นการแนะนำให้รู้จักวารสารศาสตร์พลเมือง ให้เข้าใจในกระบวนการอย่างลึกซึ้ง สำหรับผู้สนใจการปฏิบัติตน เพื่อเป็นอาสาสมัครผู้สื่อข่าวพลเมือง อย่างถูกต้อง เที่ยงธรรม และสร้างประโยชน์สาธารณะแก่สังคมต่อไป
ความเป็นมา
เนื่องจากผู้เขียนมีความสนใจ และศึกษาค้นคว้า เกี่ยวกับการนิเทศศาสตร์ และการวารสารศาสตร์อยู่เสมอ โดยเฉพาะความรู้ที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ จึงได้พบกับวารสารศาสตร์พลเมือง ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อันเป็นแหล่งหลักที่มีขนาดใหญ่ที่สุดด้วย เห็นว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และอาจเป็นเรื่องราวที่มีผู้ต้องการค้นหาข้อมูลเป็นจำนวนมากในอนาคต ดังนั้น การรวบรวมไว้อย่างละเอียดครบถ้วน จึงนับว่าเป็นประโยชน์อย่างสูงสำหรับผู้สนใจในเรื่องดังกล่าว
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อนิยามความหมายของวารสารศาสตร์ภาคพลเมืองอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน
๒. เพื่อแสดงลักษณะทั่วไป ที่มีความเฉพาะตัวของสื่อพลเมือง
๓. เพื่อลำดับวิวัฒนาการ ของวารสารศาสตร์พลเมือง
๔. เพื่ออธิบายถึงสื่อพลเมือง ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ทั้งที่ปัจเจก และที่เป็นองค์กร
๕. เพื่อเรียนรู้ทฤษฎี จากประสบการณ์ตรง ของผู้ปฏิบัติงานสื่อพลเมือง
๖. เพื่อวิเคราะห์ถึงแนวโน้ม และทิศทาง ในการก้าวหน้า ของวารสารศาสตร์พลเมืองในอนาคต
ผลที่ได้รับ
๑. เรียนรู้และเข้าใจในขั้นตอนการผลิตหนังสือพกพา (พ็อกเก็ตบุ๊ก)
๒. เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการสืบค้นข้อมูลดิบ เพื่อนำมาใช้ผลิตงาน
นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นต้นมา การใช้อินเทอร์เน็ต (Internet) ในกระบวนการส่งข่าวสารไปถึงประชาชน เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายในไทย แม้จะมีผู้เข้าถึงได้น้อยในระยะแรก แต่นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ของกระบวนการวารสารศาสตร์ในประเทศ ส่งผลให้ หนังสือพิมพ์ สำนักข่าว และฝ่ายข่าวโทรทัศน์ ต่างก็ปรับปรุงตัวเองให้ทันแก่ยุคสมัย ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่แต่ละแห่งผลิตได้ บนหน้าเว็บไซต์ของตน ตลอดจนการเผยแพร่ภาพและเสียงที่ออกอากาศในช่องทางปกติบนอินเทอร์เน็ตด้วย จนกระทั่งกลายเป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างสูงสุด ก่อนจะเข้าสู่สหัสวรรษใหม่เสียอีก
ต่อมาไม่นาน อินเทอร์เน็ตก็กลายเป็นเครื่องมือหลัก ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในวงการวารสารศาสตร์ของโลกอีกครั้ง เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเร่งด่วนร้ายแรง หรือที่ผู้สื่อข่าวอาชีพ ไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุได้ การบอกเล่าและเผยแพร่ภาพเหตุการณ์เหล่านั้น จากผู้อยู่ในเหตุการณ์ ผ่านช่องทางต่างๆ ที่คนเหล่านั้นสามารถเข้าถึงได้ กลายเป็นกระบวนการใหม่ทางวารสารศาสตร์ ไปอย่างรวดเร็วโดยปริยาย
วารสารศาสตร์พลเมือง (Citizen Journalism) เป็นคำจำกัดความที่เกิดขึ้น หลังจากที่เกิดกระบวนการดังกล่าวนั้นแล้ว ซึ่งต่อมา กระบวนการลักษณะนี้ มีวิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว ทั้งลักษณะดั้งเดิม ที่แยกตัวเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับใคร หรือการเผยแพร่ร่วมกันในรูปขององค์กร และการตั้งเป็นองค์กรขึ้นก่อน เพื่อให้สมาชิกรวมตัวกัน ภายใต้วัตถุประสงค์ขององค์กรในภายหลัง ตลอดจนการใช้ภาษาข่าว ในการเขียนเนื้อหา หรือนำคลิปวิดีโอมาประกอบแทนภาพนิ่ง เพื่อเพิ่มความกระจ่างชัดแก่ข่าวเหล่านั้นยิ่งขึ้น
ข่าวสารต่างๆ อันเกิดขึ้นจากกระบวนการของวารสารศาสตร์พลเมือง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคม อย่างชัดเจนและรุนแรง โดยเฉพาะกับเหตุการณ์ที่เป็นปริศนา มีความคลุมเครือ มีข้อเท็จจริงหลายประเด็น ที่ขัดแย้งกันเอง โดยข้อมูลจากผู้สื่อข่าวพลเมือง ซึ่งนับเป็นประจักษ์พยาน ที่ผลิตปากคำของตน เป็นหลักฐานเอกสาร อาจช่วยให้ความจริงปรากฏขึ้นได้
การนำเสนอโดยใช้รูปแบบหนังสือพกพา (Pocket Book) เนื่องจากสามารถเข้าถึงพลเมืองได้ทุกระดับ เพศ และวัย ทั้งยังสามารถลงรายละเอียด ในเนื้อหาแต่ละเรื่องย่อย ได้อย่างชัดเจนครบถ้วน เพื่อเป็นการแนะนำให้รู้จักวารสารศาสตร์พลเมือง ให้เข้าใจในกระบวนการอย่างลึกซึ้ง สำหรับผู้สนใจการปฏิบัติตน เพื่อเป็นอาสาสมัครผู้สื่อข่าวพลเมือง อย่างถูกต้อง เที่ยงธรรม และสร้างประโยชน์สาธารณะแก่สังคมต่อไป
ความเป็นมา
เนื่องจากผู้เขียนมีความสนใจ และศึกษาค้นคว้า เกี่ยวกับการนิเทศศาสตร์ และการวารสารศาสตร์อยู่เสมอ โดยเฉพาะความรู้ที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ จึงได้พบกับวารสารศาสตร์พลเมือง ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อันเป็นแหล่งหลักที่มีขนาดใหญ่ที่สุดด้วย เห็นว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และอาจเป็นเรื่องราวที่มีผู้ต้องการค้นหาข้อมูลเป็นจำนวนมากในอนาคต ดังนั้น การรวบรวมไว้อย่างละเอียดครบถ้วน จึงนับว่าเป็นประโยชน์อย่างสูงสำหรับผู้สนใจในเรื่องดังกล่าว
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อนิยามความหมายของวารสารศาสตร์ภาคพลเมืองอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน
๒. เพื่อแสดงลักษณะทั่วไป ที่มีความเฉพาะตัวของสื่อพลเมือง
๓. เพื่อลำดับวิวัฒนาการ ของวารสารศาสตร์พลเมือง
๔. เพื่ออธิบายถึงสื่อพลเมือง ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ทั้งที่ปัจเจก และที่เป็นองค์กร
๕. เพื่อเรียนรู้ทฤษฎี จากประสบการณ์ตรง ของผู้ปฏิบัติงานสื่อพลเมือง
๖. เพื่อวิเคราะห์ถึงแนวโน้ม และทิศทาง ในการก้าวหน้า ของวารสารศาสตร์พลเมืองในอนาคต
ผลที่ได้รับ
๑. เรียนรู้และเข้าใจในขั้นตอนการผลิตหนังสือพกพา (พ็อกเก็ตบุ๊ก)
๒. เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการสืบค้นข้อมูลดิบ เพื่อนำมาใช้ผลิตงาน
ฅนข่าวเท้าติดดิน: ขั้นตอนการทำงาน
บทที่ ๒
ขั้นตอนการทำงาน
ขั้นตอนการทำงาน
จาก: ปริญญานิพนธ์ โครงการจัดทำหนังสือพกพา เรื่อง “ฅนข่าวเท้าติดดิน”
โดย: นายภัทรพล สุธาวุฒิไกร
นโยบายในการนำเสนอ
๑. ไม่นำเสนอ ด้วยถ้อยคำสำนวน ที่หยาบคาย หรือก้าวร้าว
๒. ไม่นำเสนอ โดยขาดความรู้ และความเข้าใจ ในการถ่ายทอดเรื่องราว
๓. นำเสนอ ด้วยภาษาที่เข้าใจได้ง่าย และอธิบายอย่างชัดเจน
๔. นำเสนอ โดยการตกแต่งรูปเล่ม และเนื้อหา ให้มีความน่าสนใจ
กลุ่มเป้าหมาย
บุคคลทุกเพศ ทุกวัย และทุกระดับ ที่มีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับวารสารศาสตร์พลเมือง
ระยะเวลาการทำงาน
ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นระยะเวลารวม ๔ เดือน โดยแบ่งช่วงเวลาได้ดังนี้
ปลายเดือนกุมภาพันธ์ - เสนอแนวคิดกับอาจารย์ที่ปรึกษา
ต้นเดือนมีนาคม - สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง
เดือนมีนาคม - สืบค้นรวบรวมข้อมูลดิบ
เดือนเมษายนและพฤษภาคม - เขียนเนื้อหาทั้งหมด
เดือนพฤษภาคม - จัดทำเนื้อหาปริญญานิพนธ์
เดือนพฤษภาคม - จัดทำเนื้อหาปริญญานิพนธ์
ต้นเดือนมิถุนายน - เสนออาจารย์ที่ปรึกษา
เดือนมิถุนายน - ปรับปรุงแก้ไขงานในส่วนหนังสือพกพา
ต้นเดือนกรกฎาคม - สอบโครงร่างงานปริญญานิพนธ์
ลักษณะการทำงาน
การผลิตหนังสือพกพาเล่มนี้ มีวิธีปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน เริ่มจากการรวบรวมข้อมูล ทั้งจากวิธีค้นคว้าจากหนังสือ หรืออินเทอร์เน็ต และวิธีสัมภาษณ์ เพื่อสอบถามโดยตรง จากบุคคลที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง จากนั้น จึงเริ่มเขียนเนื้อหาของหนังสือพกพา และจัดทำเนื้อหาของปริญญานิพนธ์เล่มนี้ แล้วจึงนำเสนอกับอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อรับข้อเสนอแนะ สำหรับการปรับปรุงจนสมบูรณ์
รูปแบบของหนังสือ
๑. เป็นหนังสือพกพา (พ็อกเก็ตบุ๊ก) ขนาดกระดาษ เอ ๕ (ความกว้าง ๕.๕ นิ้ว ความยาว ๘ นิ้ว)
๒. จำนวน ๑๔๔ หน้า (ไม่รวมปก)
๓. หน้าปก พิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตสี่สี เคลือบยูวีชนิดไม่เงา
๔. เนื้อหาภายใน พิมพ์ด้วยกระดาษปอนด์ขาว ใช้หมึกสีดำ
๕. รูปแบบการจัดหน้าภายใน เรียบร้อย ดูสะอาดตา
๖. ราคาจำหน่ายเล่มละ ๑๐๘ บาท
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)